วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)

เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) ???
เครือข่ายภายนอกองค์กร หรือ เอกซ์ทราเน็ต (Extranet) คือระบบเครือข่ายซึ่งเชื่อมเครือข่ายภายในองค์กร หรือ อินทราเน็ต (Intranet) เข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายนอกองค์กร เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ของสาขาของผู้จัดจำหน่าย หรือของลูกค้า เป็นต้น โดยการเชื่อมต่อเครือข่ายอาจเป็นได้ทั้งการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่าง 2 จุด หรือการเชื่อมต่อแบบเครือข่ายเสมือน (Virtual Network) ระหว่างระบบอินทราเน็ตหลาย ๆ เครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตก็ได้ระบบเครือข่ายแบบเอกซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอกซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภท ๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป
 จุดประสงค์
เพื่อการสื่อสาร และประสานงาน ระหว่างองค์กร
ลักษณะสำคัญของ Extranet
1. Extranet ใช้มาตราฐานเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือใช้โปรโตคอล TCP/IP
2. เป็นเครือข่ายท่เชื่อมโยงกันระหว่างบริษัท ลูกค้า และบริษัทอื่นๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
3. มีลักษณะคล้ายกับอินเตอร์เน็ตที่มีการเปิดออกสู่โลกภายนอกมากขึ้นคล้ายกับอินเตอร์เน็ตมีผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น หรืออีกนัยหน่งจะสามารถมองว่าป็นเป็นอินเตอร์เน็ตที่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้นก็ได้
ข้อกำหนดของเอกซ์ทราเน็ต
การเชื่อมโยงธุรกิจหรือองค์กรที่มีโครงสร้างและระบบการทำงานที่ต่างกัน เป็นสิ่งท้าทายสำหรับการนำระบบเครือข่ายมาใช้ สิ่งสำคัญไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของธุรกิจหรือจำนวนขององค์กรที่เข้าร่วม แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเชื่อมโยงองค์กรเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ดังนี้
องค์กรและบุคคลที่จะมารวมอยู่ในระบบเดียวกันได้ จะต้องใช้มาตรฐานเดียวกัน เช่น ระบบ
World Wide Web
ระบบใหม่จะต้องช่วยส่งเสริมกิจกรรมขององค์กรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น ช่วย ลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบสินค้า การติดต่อสั่งซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการสำรองสินค้าคงคลังได้ การทำให้กิจกรรมที่แต่ละองค์กรทำอยู่ดำเนินไปได้ด้วยดี ถือว่าเป็นความสำเร็จของระบบ เอกซ์ทราเน็ต
นอกจากจะรักษาสถานะภาพเดิมขององค์กรไว้ได้แล้ว ระบบจะต้องสามารถรองรับความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ โดยไม่จำเป็นต้องทิ้งระบบเก่าทั้งหมด แต่นำสิ่งใหม่ๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสื่อสารมารวมเข้ากับระบบเดิม
ความสำเร็จของระบบจะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ซอฟท์แวร์ด้วย โดยจะต้องใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความสามารถพอที่จะสามารถใช้งานได้จริงๆ ไม่ใช่โปรแกรมทดลองหรือโปรแกรมที่เขียนโดยมือสมัครเล่น และที่สำคัญต้องรองรับการขยายตัวของระบบได้ ซึ่งในขณะนี้ก็มีบริษัทหลายแห่งเริ่มสร้างซอฟต์แวร์สำหรับช่วยให้การดูแลระบบทำได้ง่ายขึ้น

ความสำคัญของเอกซ์ทราเน็ต
ทำไมถึงมีเอกซ์ทราเน็ตจากระบบอินทราเน็ตที่จำกัดขอบเขตการทำงานอยู่ภายในองค์กรแต่ละองค์ ก็มีความพยายามที่จะขยายขอบเขตการใช้งานให้กว้างขวางขึ้น เป็นระบบเอกซ์ทราเน็ต ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกันจะถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรก็จะเป็นไปอย่างราบรื่น มีความรวดเร็วต่อเนื่อง ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการทำงาน ภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว แต่จะขึ้นกับการสื่อสารกับองค์กรอื่นๆ ที่ทำธุรกิจด้วย ดังนั้นถ้าสามารถนำระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในกระบวนการเหล่านี้ได้ เหมือนกับในระบบอินทราเน็ตก็จะทำให้ธุรกิจทั้งระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนนี้บริษัทต่างๆ ที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของตนเอง ต่างพยายามหาซอฟต์แวร์มาช่วยในการทำงาน และส่วนใหญ่จะใช้
ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาเฉพาะกิจ ซึ่งต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่าย ค่อนข้างมาก ที่สำคัญก็คือไม่มีความยืดหยุ่นในการทำงาน การปรับเปลี่ยนให้เข้ากับลักษณะงานที่เปลี่ยนไปจึงทำได้ยาก และมีปัญหาในการเชื่อมโยงของข้อมูลข่าวสารกับบริษัทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบริษัทที่ใช้ระบบเครือข่ายซอฟต์แวร์ต่างกัน แต่ถ้าเครือข่ายและซอฟต์แวร์สำหรับการติดต่อสื่อสารทั้งที่ใช้ภายในองค์กรและการติดต่อระหว่างองค์กรต่างก็เป็นเทคโนโลยีของระบบอินเตอร์เน็ตทั้งหมด การถ่ายเทหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจึงทำได้ง่ายขึ้น ความหมายอย่างละเอียด
ประโยชน์
ดูบทความหลักที่ CP101:อินเตอร์เน็ต
ระบบเครือข่ายแบบเอ็กซ์ทราเน็ต โดยปกติแล้วจะอนุญาตให้ใช้งานเฉพาะสมาชิกขององค์กร หรือผู้ที่ได้รับสิทธิในการใช้งานเท่านั้น โดยผู้ใช้จากภายนอกที่เชื่อมต่อเข้ามาผ่านเครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ต อาจถูกแบ่งเป็นประเภทๆ เช่น ผู้ดูแลระบบ สมาชิก คู่ค้า หรือผู้สนใจทั่วๆ ไป เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้แต่ละกลุ่มจะได้รับสิทธิในการเข้าใช้งานเครือข่ายที่แตกต่างกันไป
เครือข่ายเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เริ่มมีการนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การเปิดร้านค้าบนอินเทอร์เน็ต หรือการเปิดบริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ เป็นต้น ซึ่งบริการเหล่านี้จะต้องมีการเชื่อมต่อกับบุคคลและเครือข่ายภายนอกองค์กรจำนวนมาก จึงต้องมีระบบการจัดการการเชื่อมต่อเครือข่ายภายนอกที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยที่ดี
บริษัท สามารถใช้เอกซ์ทราเน็ต ดังนี้
ทำให้ธุรกิจสามารถบริหารสินค้าคงคลังได้ดีขึ้น เนื่องจากมีการเชื่อมต่อเครือข่ายของบริษัทเข้ากับบริษัทคู่ค้า หรือบริษัทขายสินค้าโดยตรง เช่น ผู้ค้าปลีกที่มีการติดต่อกับผู้ค้าส่งย่อมมีการตรวจสอบอยู่ตลอดเวลาว่า สินค้าตัวไหนขายดี เป็นการตัดปัญหาเรื่องสินค้าขายตลาดไปได้ โครงการจัดทำข้อมูลองค์ความรู้
สามารถสร้างกลุ่มข่าวสารส่วนบุคคล (
Private Newsgroup) ที่เป็นแหล่งที่ให้ธุรกิจที่รวมกลุ่มกันนั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ต่างๆร่วมกัน
สามารถจัดฝึกอบรมให้แก่พนักงานร่วมกันภายในกลุ่มโดยผ่านทาง
Extranet
สามารถให้บริการหรือขายสินค้าเฉพาะลูกค้าที่เป็นสมาชิกเท่านั้น
ช่วยให้การทำธุรกิจผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างรวดเร็วและมี ประสิทธิภาพ เพราะสามารถติดต่อกับสมาชิกเครือข่ายได้หลายรูปแบบ ทั้งการโต้ตอบ การข่าวสาร หรือการส่งโทรสาร
แลกเปลี่ยนข้อมูลจำนวนมากโดยใช้
electronic data interchange (EDI)
การใช้แคตตาล๊อคสินค้าร่วมกันเฉพาะผู้ค้าส่ง หรือ ในระหว่างการขาย
การร่วมมือกับบริษัทอื่นในการพัฒนางานร่วมกัน
ให้ หรือเข้าถึงการบริการโดยบริษัทหนึ่งไปที่กลุ่มของบริษัทอื่น เช่น
online banking
ให้ข่าวร่วมกัน ของความสนใจร่วมเฉพาะภายในหุ้นส่วน

ข้อพิจารณาในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
การติดตั้งระบบ คุณสมบัติของระบบที่จะนำมาพิจารณาว่าระบบมีขีดความสามารถพอสำหรับการนำมาใช้หรือไม่ อาจจะแบ่งเป็น สองส่วน คือ ส่วนการจัดการระบบ และส่วนของโปรแกรมใช้งาน ส่วนจัดการระบบ คือ คุณสมบัติพื้นฐานของระบบ เช่น ความปลอดภัยของข้อมูลที่มีการติดต่อสื่อสารภายในระบบ องค์กรต่างๆ ย่อมไม่ต้องการให้ข้อมูลที่แลกเปลี่ยนระหว่างกันตกไปถึงมือของคนอื่น มีการตรวจสอบผู้ใช้ของระบบ และควบคุมการใช้งานในระดับต่างๆ ได้ดี รวมทั้งสามารถรองรับการใช้งานพร้อมกันจำนวนมาก ส่วนโปรแกรมของระบบก็เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่ระบบใช้ในการพูดคุย การ แลกเปลี่ยนข้อมูล การติดต่อซื้อขาย การค้นหาข้อมูล และการจัดการทางธุรกิจทั้งหลาย นอกจากความสามารถในการทำงานแล้ว สิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้เลย ก็คือ ความสามารถในการสื่อความเข้าใจกับผู้ใช้ระบบ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมจัดการระบบหรือโปรแกรมใช้งานอะไร ก็ตาม ถ้าผู้ใช้ไม่สามารถที่จะเรียนรู้วิธีการใช้งานได้แล้ว ก็มีทางที่โปรแกรมนั้นจะไม่ได้รับความสนใจ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้

ตัวอย่างของเอกซ์ทราเน็ต : VPN
การทำ extranet หรือ
VPN ผ่าน ISP วิธีนี้จะดีถ้าบริษัทสาขาย่อยอยู่ต่างจังหวัด เพราะจะทำให้ไม่ต้องเสียค่าโทรทางไกล โดยสามารถติดต่อซื้อ account จาก ISP เพื่อทำเอกซ์ทราเน็ต ได้ในราคาพิเศษได้ (เนื่องจาก account พวกนี้ จะถูกกันไม่ให้ออก internet) วิธีการก็คือเอา "server กลาง" ไปฝากไว้ที่ ISP หรือต่อสาย leased line เข้าไปยัง "server กลาง" ที่สำนักงานใหญ่ก็ได้ แล้วให้สาขาย่อยหมุนโมเดมโทรเข้าไปยัง ISP เพื่อเชื่อมต่อเข้ามาที่ server กลาง
คำศัพท์
internet=สื่อสารข้ามประเทศโดยระบบwan(
wide area network)(โดยใช้โปรโตคอล tcp/ip)
intranet=สื่อสารภายในองค์การโดยระบบ
LAN (local area network)
extranet=
สื่อสารภายในองค์กรโดยระบบ
wan
สารสนเทศเพิ่มเติม
Lan & Wan
เป็นระบบ
Network ที่ใช้ติดต่อกันเฉพาะวงแคบๆ เช่น ภายในห้องเดียวกัน หรือภาย ในอาคารเดียวกัน มีมาตรฐานหลายแบบ เช่น Token Ring, Bus ฯลฯ แต่ถ้ามีวงกว้างขึ้น เช่นครอบคลุมทั้งมหาวิทยาลัย จะเรียกว่า Wan ดังนั้น Wan จึงเป็นการติดต่อระหว่างหลาย ๆ วง Lan นอกจากนี้ยังมี Man อีกอันด้วย ซึ่งทั้งสามอย่างก็แตกต่างกันที่ขนาดเป็นหลัก
Internet
เป็นระบบ network ที่ให้การติดต่อได้ทั่วถึงทั้งโลก โดยที่แต่ละเครื่องจะต้องมีหมายเลข แอดเดรสเป็นของตัวเอง (โดยปกติจะเรียกว่า
IP Address) ปัจจุบันใช้การติดต่อในระบบ TCP/IP
Intranet
เป็นระบบ Network ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร "ภายในองค์กร" ไม่สามารถ ติดต่อกับภายนอกองค์กรได้ โดยมีเครื่อง "Server" ไว้คอยเก็บข้อมูลทั้งหมด เวลาที่ต้องการจะอ่านข้อมูลจะต้องติดต่อไปยังเครื่่องนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น